ระเบียบกรมการศาสนา
ว่าด้วยองค์การศาสนาต่างๆ พ.ศ. 2512
-----------------------------------------
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการประสานงานและการอุปถัมภ์บำรุงศาสนาต่างๆ ในประเทศไทย กรมศาสนากระทรวงศึกษาธิการ วางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ 1. ระเบียบนี้ให้เรียกว่า "ระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยองค์การศาสนาต่างๆ พ.ศ. 2512"
ข้อ 2. ให้ยกเลิกระเบียบและคำสั่งอื่นที่มีความขัดกัน แย้งกัน หรือซ้ำกันกับระเบียบนี้ แล้วใช้ระเบียบนี้แทนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3. ในระเบียบนี้
"องค์การศาสนา" หมายถึง องค์การบริหารงานเพื่อความดำรงอยู่แห่งศาสนาหนึ่งๆ ภายในประเทศไทยอันศาสนานั้นๆ ขาดเสียมิได้
"องค์การทางศาสนา" หมายถึง หน่วยงานที่ศาสนิกชนแห่งศาสนาหนี่งๆ จัดตั้งขึ้นไว้เพื่อส่งเสริมกิจการของศาสนานั้นๆ
"องค์การใหญ่ทางศาสนา" หมายถึง หน่วยงานที่องค์การศาสนาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือในการปกครองดูแลศาสนิกชนในศาสนานั้นโดยทั่วไป และมีความ
สำคัญรองลงมาจากองค์การศาสนา หรือเป็นหน่วยปกครองศาสนิกชนแห่งนิกายหนึ่งต่างหากอันไม่อาจร่วมกับนิกายอื่น
"องค์การย่อยทางศาสนา" หมายถึง หน่วยงานซึ่งเป็นองค์การใหญ่ หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะกลุ่มชน เฉพาะกิจการ
หรือเฉพาะท้องถิ่นหนึ่งๆ
"องค์การพิเศษทางศาสนา" หมายถึง หน่วยงานซึ่งมีลักษณะพิเศษอันมีวัตถุปะสงค์ในทางศาสนาระหว่างประเทศระหว่างศาสนาต่างๆ และหรือมีวัตถุประสงค์
ไม่เกี่ยวกับศาสนาในประเทศไทยโดยตรง
"ศาสนสถาน" หมายถึง สำนักอันเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา สำนักอันเป็นที่อยู่อาศัยของนักบวชและปูชนียสถานทางศาสนา
"สำนักสอนศาสนา" หมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกาศศาสนาจัดไว้เป็นที่สอนศาสนา ซึ่งมีผู้สอนศาสนาปกครองดูแล
ข้อ 4. การที่กรมศาสนาจะรับนับถือองค์การใดว่าเป็นองค์การศาสนาในประเทศไทยย่อมต้องพิจารณาในหลักการสำคัญต่อไปนี้ คือ
ก. หลักธรรมคำสอน มีลักษณะเป็นศาสนาหนึ่งต่างหากจากศาสนาอื่นโดยสมบูรณ์ในทางศาสนศาสตร์
ข. ปรากฏในสำมะโนประชากรว่ามีพลเมืองนับถือไม่น้อยกว่าห้าพันคน
ค. คำสอนและวิธีการสอนไม่ขัดต่อรัฐธรรมและกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย
ง. เป็นกิจการ ทางศาสนาไม่แอบแฝงด้วยลัทธิการเมืองและวัตถุประสงค์ อย่างอื่น
ข้อ 5. การขอจดทะเบียนอยู่ในความอุปถัมภ์ทางราชการ ให้หัวหน้าองค์การใหญ่ทางศาสนานั้น
ยื่นรายงานติอกรมการศาสนา พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานอันแสดงถึง
ก. วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการ
ข. ความผูกพันธ์ที่องค์การนั้นมีอยู่ในต่างประเทศ
ค. บัญชีรายชื่อกรรมการละเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ขององค์การ
ง. บัญชีแสดงที่ตั้งองค์การย่อย ศาสนสถาน ละสำนักสอนศาสนา
จ. รายการอื่น ที่กรมการศาสนาต้องการ เมื่ออธิบดีกรมการศาสนาอนุมัติให้รับองค์การนั้นแล้ว กรมการศาสนาจะได้ออกประกาศรับไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 6. องค์การทางศาสนาที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา ย่อมจะได้รับการพิจารณาช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ เช่น
ก. การอำนวยความสะดวกและออกบัตรประจำตัวแก่ผู้ประกาศศาสนา
ข. การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
ค. การพิจารณาเกี่ยวกับการพำนักอยู่ ในประเทศของเจ้าหน้าที่ทางศาสนา
ง. การแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานขององค์การ
จ. การเชิญเข้าร่วมประชุมพิจารณากิจการทางศาสนา
ฉ. การชุมนุมและแลกเปลี่ยนข่าวสารกับองค์การอื่น
ข้อ 7. องค์การทางศาสนาย่อมมีหน้าที่อันพึงปฏิบัติติอทางราชการและองค์การอื่นดังต่อไปนี้
ก. แจ้งการเปลี่ยนแปลงของนิกายและบุคคลในองค์การให้กรมการศาสนาทราบ
ข. ส่งเสริมศีลธรรมและวัฒนธรรมของชาติไทย
ค. รักษาและเพิ่มพูนความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกชนผู้ต่างศาสนากัน
ง. เข้าร่วมประชุมหรือชุมนุมทางศาสนา
ข้อ 8. ให้กองศาสนูปถัมภ์รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2512
(ลงนาม) พันเอก ป. มุทุกันต์
(ปิ่น มุทุกันต์)
อธิบดีกรมการศาสนา